โรงเรียนบ้านสวนผึ้ง

นายนันทโชค เกียรติภูมิพัฒน์
ผู้อำนวยการ
โรงเรียนบ้านสวนผึ้ง

ประวัติ โรงเรียนบ้านสวนผึ้ง

โรงเรียนบ้านสวนผึ้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชุรี เปิดทำการเรียน การสอนครั้งแรก เป็นสาขาของโรงเรียนชุมชนบ้านบ่อ (กรป.กลางอุปถัมภ์) โดยประกิต ใจบำเพ็ญ, กำนันจิ๊บ จะนุ และชาวบ้านในท้องที่หมู่บ้านสวนผึ้ง ได้ร่วมกันบริจาคอุปกรณ์ในการก่อสร้างพร้อมทั้ง เสียสละกำลังแรงงาน ก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ทำด้วยไม้นานาชนิด มุงหลังคาด้วยหญ้าแฝก จำนวน 1 หลัง ห่างจากที่ว่าการอำเภอสวนผึ้ง ประมาณ 3.5 กิโลเมตร
เปิดสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2522 โดยเปิดสอน 2 ระดับชั้น คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีนักเรียนทั้งหมด 38 คน ครูผู้สอน 2 คน

เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2522 ทางราชการได้อนุมัติงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1ก จำนวน 5 ห้องเรียน 1 หลัง อาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช.202/26 1 หลัง ส้วม 4 ที่นั่ง 1 หลัง ซึ่งแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2526 และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

ในปีพ.ศ. 2534 โรงเรียนได้ปรับปรุงอาคาร อพป. ซึ่งได้รับบริจาค เป็นอาคารเรียนชั่วคราวจัดแบ่ง เป็นห้องเรียน 3 ห้องเรียน คือ ชั้น ป.3, ป.5 และ ป.6

ในปีการศึกษา 2539 โรงเรียนได้รับเงินบริจาค จากผู้มีจิตศรัทธาให้ดำเนินการสร้างอาคารโรงอาหาร จำนวน 1 หลัง โดยแบ่งใช้เป็นห้อง ประกอบอาหาร ห้องสหกรณ์ และใช้เป็นที่ประชุมนักเรียนในวันศุกร์ สุดสัปดาห์ ตลอดจนจัดกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ

ปีการศึกษา 2540 โรงเรียนได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักงาน จำนวน 1 หลัง โดยได้รับเงินงบประมาณ คณะครู ผู้ปกครอง ผู้มีจิตศรัทธา และได้รับการเอื้อเฟื้อช่างฝีมือและแรงงานจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคตะวันตก ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นที่ตั้งสำนักงานกลุ่มโรงเรียน กลุ่มตะนาวศรี

ปีการศึกษา 2541 ได้รับงบประมาณ จากทางราชการให้ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 102/26 จำนวน 1 หลัง แล้วเสร็จและใช้เป็นห้องเรียนของระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3-6 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2541 และได้รบงบประมาณซ่อมแซมสร้างโครงเหล็ก อาคารอนุบาลปีที่ 1-2 ประกอบกับได้รับเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา สามารถก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน

ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนได้งบประมาณมาจากผู้มีจิตศรัทธา เพื่อสร้างอาคารเรียน 2 ชั้น 1 หลัง ชั้นล่างเป็นห้องสื่อการสอนและห้องประชุม ชั้นบนแบ่งเป็น 4 ห้องเรียนคือ ห้องคอมพิวเตอร์และห้องเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

ปัจจุบันโรงเรียนบ้านสวนผึ้ง เปิดทำการสอน 8 ชั้นเรียนตั้งแต่ อนุบาลปีที่ 1 – ระดับชั้นประถมศึกษาที่ 6 มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 317 คน ข้าราชการครู 15 คน พนักงานราชการ 1 คน อัตราจ้าง 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 10 คน มีนักการภารโรง 1 คน โดยมีนายนันทโชค เกียรติภูมิพัฒน์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน

วิสัยทัศน์ โรงเรียนบ้านสวนผึ้ง

โรงเรียนบ้านสวนผึ้ง มุ่งจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม มีคุณภาพตามมาตรฐาน ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต ร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม

พันธกิจ โรงเรียนบ้านสวนผึ้ง

เพื่อให้การปฏิบัติงานของโรงเรียนบ้านสวนผึ้ง ประสบผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่กำหนด โรงเรียนจึงกำหนดพันธกิจ ดังนี้

๑. ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดและวางแผนการจัดการศึกษา

๒. พัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้

๓. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมให้นักเรียน และการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

๔. พัฒนานักเรียนให้ได้รับการพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ

๕. พัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง และคนที่แข็งแรง

๖. ส่งเสริม สนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กลยุทธ์ โรงเรียนบ้านสวนผึ้ง

๑. โรงเรียนมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ โดยเน้นการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา บุคลากรภายในโรงเรียน ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

๒. พัฒนาศักยภาพผู้บริหารและครูสู่มาตรฐานวิชาชีพครูและเป็นมืออาชีพ

๓. ผู้เรียนทุกคนเป็นคนดี มีคุณธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยมหลัก ๑๒ ประการและมีทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

๔. ผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาตามสิทธิอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเต็มศักยภาพ

แนวทางการพัฒนา และความต้องการช่วยเหลือ

จุดเด่นระดับปฐมวัยคุณภาพของเด็ก

เด็กปฐมวัยโรงเรียนบ้านสวนผึ้ง สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง และมีสุขนิสัยที่ดีเหมาะสมตามวัย มีสุนทรียภาพที่ดีร่าเริงแจ่มใส มีความ มั่นใจสมวัยและแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ แสดงความรักและสนใจผ่านกิจกรรมศิลปะ ดนตรีและการ เคลื่อนไหวร่างกาย มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์จิตใจที่ดีเหมาะสมกับวัย มีวินัยสามารถปฏิบัติตนตาม ระเบียบ ข้อตกลงร่วมกันได้ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครูอาจารย์ มีความซื่อสัตย์สุจริตรู้จักการช่วยเหลือและแบ่งปัน สามารถปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันกับเพื่อนได้ เป็นอย่างดี มีความสนใจที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ควบคู่ไปกับคุณธรรม สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างสรรค์ ผลงานที่ตนเองสนใจได้

กระบวนการบริหารและการจัดการ

โรงเรียนได้จัดให้ครูที่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับปฐมวัยได้มีการพัฒนาตนเองโดยจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากร มีการฝึกอบรม เกี่ยวกับเทคนิควิธีการจัดกิจกรรมการจัดประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ครูจัดทำสื่ออุปกรณ์ นวัตกรรม นำเทคโนโลยีมาใช้ในการประสบการณ์ที่หลากหลายและทันสมัย

การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

ครูปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย รู้ถึงความ แตกต่างระหว่างบุคคลและสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตร ปฐมวัยของสถานศึกษา มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ครบตามสาระการเรียนรู้และมีคุณภาพ มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม เข้าไปในแผนการจัดประสบการณ์ และครูปฐมวัยมีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการชั้นเรียนเป็นอย่างดี มีการใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดกิจกรรม สามารถใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีได้อย่างเต็มศักยภาพ มีการใช้แบบประเมินพัฒนาการและการ เรียนรู้ที่หลากหลาย มีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อให้ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก ผู้ปกครอง ตลอดจนเพื่อนร่วมงาน

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 

คุณภาพของผู้เรียน

ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนอ่านออกเขียนได้เป็นส่วนมากแต่ยังมีบางส่วนที่ ต้องพัฒนาเป็นรายบุคคล ซึ่งมีไม่ถึงร้อยละ 5 ของโรงเรียนและเป็นเด็กที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ส่วนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา และผลการทดสอบระดับชาติหรือผลการทดสอบอื่นๆ พบว่ามี ความก้าวหน้าพัฒนาการดีขึ้นกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญแต่ทว่ายังไม่บรรลุตามเกณฑ์ที่สถานศึกษาตั้งเป้าหมายไว้ตามที่ควร ทั้งนี้สถานศึกษาพยายามส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมี วิจารณญาณ ด้วยกิจกรรม โครงการด้านวิชาการต่างๆ ตามแผนปฏิบัติการประจำปีอย่างสุดกำลังของทรัพยากร บุคคลที่มีอย่างเต็มที่

กระบวนการบริหารและการจัดการ

ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้มีวิสัยทัศน์และมีภาวะผู้นำ นำหลักการบริหาร เพื่อรวมพลัง สามัคคีของบุคลากรในโรงเรียน ทั้งการเสริมแรง กระบวนการนิเทศ กำกับ ติดตาม การใช้หลักการมีส่วนร่วมและอาศัยชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้และอนุเคราะห์เกื้อกูลกัน สร้างสัมพันธภาพที่ดีแบบเอกลักษณ์ชุมชนคนไทยที่อาศัย ช่วยเหลือกันและกัน มีการแต่งตั้งบุคคลที่มีความเหมาะสมหรือทำงานที่มอบหมายให้บรรลุวัตถุประสงค์ในฝ่ายต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ครูมีความรู้ ความเข้าใจ ใน กระบวนการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ใช้นวัตกรรม สื่อการเรียนรู้ที่ เหมาะสมตามวัยและให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและอยากเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้และหน่วยการเรียนรู้ที่คุณครู ได้ออกแบบร่วมกันผ่านกระบวนการกลุ่ม โดยคุณครูได้มีวิธีการสอนที่หลายหลายรูปแบบ หลากหลายวิธีวัดและประเมินผล ทั้งแบบสังเกต การเปิดประเด็นแบบเสรี การลงมือปฏิบัติจริง วัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง การใช้แหล่งเรียนรู้จากภายในและภายนอกสถานศึกษา

จุดควรพัฒนา

ผลสัมฤทธิ์ระดับชาติของนักเรียนมีแนวโน้ม เปลี่ยนแปลงพัฒนาขึ้นโดยรวม แต่ยังไม่ถึงค่าเฉลี่ย ระดับชาติ ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาต่อไป การจัดกิจกรรมที่เน้นการคิดวิเคราะห์ ให้ผู้เรียน ได้เขียนแสดงทัศนคติยังไม่บรรลุเป้าหมายเท่าที่ควร โรงเรียนควรจัดให้มีอาคารและห้องปฏิบัติการที่ เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้ ควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมใน การจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้มากกว่านี้ และ การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียน นำไปใช้พัฒนาตนเอง

แนวทางการพัฒนาในอนาคต

1. ส่งเสริมให้มีการจัดโครงการเพื่อการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง และโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. ส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาศักยภาพด้านการใช้เทคโนโลยี โปรแกรมการเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอน ตามการเปลี่ยนแปลงของการจัดการศึกษาใน ปัจจุบันทั้งในระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. จัดหาบุคลากรด้านสาขาขาดแคลน ด้านภาษาไทย และปฐมวัย เป็นครูผู้สอนเพิ่มเติมในรายวิชา เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์เพิ่มเติมในด้านที่โรงเรียนยังขาดแคลน

ความต้องการช่วยเหลือ

ปัจจุบันโรงเรียนมีผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเพิ่มขึ้น จึงควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนได้รับการอบรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการบริหารชั้นเรียนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีผู้เชี่ยวชาญให้ คำปรึกษาทั้งครูผู้สอนรายวิชาต่างๆ และครูประจำชั้น

กิจกรรมโรงเรียน

ข่าวประชาสัมพันธ์